วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

ทำไมต้องเล่น เล่นทำไม เล่นแล้วได้อะไร


"ทำไมต้องเล่น เล่นทำไม เล่นแล้วได้อะไร"


เอะ! นั่นนะสิ คำถามเหล่านี้มักจะอยู่ในใจของพ่อแม่ผู้ปกครอง

ที่กำลังจะส่งเจ้าตัวเล็กเข้าโรงเรียน .... จากนั้นก็จะตามแอบดู

มองดู ชำเลืองดูว่า คุณครูจะดูแลลูกเราไหม ดูแลอย่างไร

อ้าว! ไหง มาทีไรเล่นทุกที ไม่รู้จใล่นอะไรหนักหนา เล่นในห้องไม่พอ

ยังพามานอกห้องอีก... วันๆ ไม่เห็นได้เขียนอะไร กลับมาก็เอาแต่ร้องเพลง

แง๊ว แง๊ว กระโดดกระเต้น ถามลูก! เขียนหนังสือหรือยัง หัวเราเอิ้กอ้าก

ยังกั๊บแม่ แหม! พูดก็ไม่ซัด เอ้ยชัด อ้าวไม่เป็นไร วันแรกคงไม่เทาไร

ไปโรงเรียนหลายวันยังไม่มีการบ้านอะไร ขีดเขียนมาเลย

เอ๊ะ เอ๊ะ มันชักยังไง ยังไง ...........

คุณครูขา เมื่อไรลูกฉันจะได้เขียน ลูกอยากเขียนเหลือเกิ้น (แม่รึลูกคะ)

คุณครูครับ ลูกผมมาเรียนะไม่ใช้มาเล่น

คุณครูครับ เมื่อไรจะมีการบ้าน (พ่อแม่จะได้ทำให้ลูกใช่ไหมละ) เด๋วลูกไม่เก่ง

คุณครูคะ คุณครูครับ คุณครูขาขาขาขา ขายาวเหลือเกิน.....

เอ้า.ววววว เอาไปอ่านซะ คุณพ่อคุณแม่แก่แดดทั้งหลาย

รับเอกสารแทบไม่ทัน


ประโยชน์ของการเล่นของเด็ก

การเล่นส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก คือถ้าเด็กได้รับโอกาสให้เล่นแล้ว จะทำให้พัฒนาการทุกด้านดีขึ้น เช่น ส่งเสริมพัฒนาการทางกายในด้านการฝึกฝนการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ให้เจริญเติบโต ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ ในแง่ที่ทำให้เด็กรู้จักการเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ แบ่งป้นสิ่งของซึ่งกันและกัน รู้จักการให้และการรับ รู้จักร่วมมือกัน การสร้างมิตรภาพระหว่างเพื่อนฝูง นอกจากนั้นการเล่นของเด็กย้งช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาคือการใช้ภาษาได้ดีขึ้น ฝึกการแก้ปัญหา และส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเป็นต้น
       การเล่นส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก เพราะการเล่นของเด็กจัดเป็นการศึกษาอย่างหนึ่ง เช่น เด็กที่เล่นตุ๊กตาจะเรียนรู้รูปร่าง ลักษณะและส่วนประกอบของตุ๊กตา ตลอดจนสี และสิ่งที่ใช้ในการประดิษฐ์ตุ๊กตาเมื่อเด็กเติบโตขึ้นก็จะสามารถเรียนรู้จากการเล่นมากขึ้น นั่นคือ การเล่นส่งเสริมให้เด็กมีความรู้กว้างขวาง
*****************************************************************

การเล่นจึงเป็นสิ่งที่ผ่อนคลายความตึงเครียดในชีวิตปรจำวันของเด้ก ช่วยให้เด็กรู้จักวางแผนทำสิ่งต่าง ๆ และช่วยให้เด็กรู้จักแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองอีกด้วย
 

ประโยชน์ของการเล่น (ต่อ)


การเล่นช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านต่างๆ:



ด้านร่างกาย จะช่วยให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ เพิ่มทักษะ การใช้กล้ามเนื้อต่างๆ

ด้านอารมณ์จะช่วยให้เด็กเป็นผู้มีอารมณ์แจ่มใส เบิกบาน สนุกสนาน

ด้านสังคมจะช่วยเสริมสร้างให้เด็กเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง

กล้าแสดงออก สามารถร่วมเล่นกับเพื่อนได้อย่างสร้างสรรค์ และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทำให้เป็นผู้ที่ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย มีทักษะในการสื่อสาร

ด้านสติปัญญาจะช่วยฝึกให้เด็กรู้จักคิดทั้งด้านการคิดอย่างมีเหตุผล

การคิดอย่างสร้างสรรค์และจินตนาการ สามารถรู้จักวางแผน รู้จักแก้ปัญหา

มีน้ำใจ มีความอดทน เป็นการปลูกฝังจริยธรรม คุณธรรมให้แก่เด็กด้วย
 
เมื่ออ่านแล้ว  หวังว่า 
พ่อแม่อย่างเร่งหนูเขียนอีกนะ 
อย่างน้อย...........
ขอหนูเล่นกับเพื่อนก่อน  หนูพร้อมเมื่อไร 
รับรองจะเขียนให้หมดเลย 

โครงงาน "มาปลูกถั่วงอกกันเถอะ"

กิจกรรมโครงงาน

1. ชื่อโครงงาน มาปลูกถั่วงอกกันเถอะ
2. ที่มา สืบเนื่องมาจากครูได้สอบถามนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ในเรื่องของ ผักที่เด็กชอบรับประทานมากที่สุด จากนักเรียนทั้งหมด 12 คน พบว่า เด็กๆ ชอบผักต่อไป ดังต่อไป
มาเรียน 11 คน ขาดเรียน 1 คน
1. ด.ญ.พัชรีวรรณ : ชอบรับประทานผัก ผักบุ้ง, แตงกวา
2. ด.ญ.วาสนา : ชอบรับประทานผัก ผักตำลึง,ผักกาด
3. ด.ช.วีรวุฒิ : ชอบรับประทานผัก ผักทุกชนิด
4. ด.ญ.ชนิกานต์ : ชอบรับประทานผัก ผักบุ้ง, ผักคะน้า
5. ด.ญ.ชาลีนี : ชอบรับประทานผัก ผักทุกชนิด
6. ด.ญ.นวรัตน์ : ชอบรับประทานผัก ผักกาด
7. ด.ญ.พิชญาภัค : ชอบรับประทานผัก ผักคะน้า,แครอท
8. ด.ญ.วรรณภา : ชอบรับประทานผัก แครอท,ผักกาด
9. ด.ญ.อัญชิญา : ชอบรับประทานผัก ผักกาด
10. ด.ญ.ภัทราพร : ชอบรับประทานผัก แครอท,ตำลึง,บวบ
11. ด.ญ.ศิรพัชร : ชอบรับประทานผัก คะน้า,กวางตุ้ง
12. ด.ญ.สุทธิดา : ชอบรับประทานผัก -
สรุปได้ว่า นักเรียนส่วนใหญ่ชอบรับประทานผัก และสามารถบอกประโยชน์ของผักได้ เช่น
ด.ญ. ชาลินี “ผักมีประโยชน์ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงเติบโต
ด.ญ.วรรณภา “กินผักแล้วผิวสวย”
ด.ญ.ชนิกานต์ “กินผักช่วยให้ป้องกันโรค”
ในขณะที่ครูสอบถามพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับประโยชน์ของผัก อาหารที่ทำจากผักนั้นด.ญ. ชาลินีได้บอกว่า “คุณครูขา หนูเล็ก(ด.ญ.นวรัตน์ แก้วทุ่ง) ไม่ชอบกินผักคะ มักจะเขี่ยผักทิ้งเวลากินข้าว

คุณครู “หนูเล็กไม่ชอบกินผักอะไร”
ด.ญ.นวรัตน์ (หนูเล็ก) “หนูไม่ชอบผักบางอย่างคะ มันขมๆๆ”
คุณครู “อะไรละที่หนูเล็กไม่ชอบ”
ด.ญ.นวรัตน์ (หนูเล็ก) “ยิ้ม ไม่กล้าตอบ”
ด.ญ.ชาลินี “คุณครูขาหนูเล็กไม่ชอบกินถั่วงอกคะ เขาบอกหนู เวลามีขนมจีนของคุณครูจินดาเขาจะไม่ใส่ผัก ถ้าครูใส่ผักให้ก็จะเขี่ยทิ้งไม่กิน
ด.ญ.พัชรีวรรณ “ หนูเคยเห็นหนูเล็กทิ้งถั่วงอกด้วยคะ”
ด.ญ. ภัทราพร “คุณครูขา ที่บ้านหนูพ่อเคยสอนหนูปลูกถั่วงอกด้วยคะ”
คุณครู “งั้นดีเลย ครูจะฝึกให้หนูเล็กรับประทานถั่วงอก พร้อมกับให้นักเรียนได้ลองปลูกถั่วงอกด้วยตนเอง เพราะชมพู่ (ด.ญ.ภัทราพร) เคยปลูกถั่วงอกกับพ่อที่บ้านจะได้ช่วยสอนเพื่อนทำด้วย เมื่อถั่วงอกโตขึ้นก็จะได้นำไปทำอาหาร หนูเล็กจะได้ลองรับประทานถั่วงอกที่ตนเองปลูกด้วย
ด.ช.วีรวุฒิ “คุณครูครับพี่ๆ เขาก็ปลูกผัก เราก็จะได้ปลูกผักเหมือนกับพี่ๆใช่ไหมครับ
เด็กๆ ทุกคนตื่นเต้นดีใจที่จะได้ทดลองปลูกถั่วงอกด้วยตนเอง เพราะเด็กทุกคนชอบรับประทานถั่วงอก มีแต่หนูเล็กที่ไม่ชอบเท่านั้น เด็กๆ ยังบอกอีกว่าอาหารกลางวันวันพุธ เป็นขนมจีนน้ำยาปลาทูของคุณครูจินดา กับคุณครูผานิตย์ และจะได้เอาถั่วงอกที่เราปลูกไปกินขนมจีนด้วย

3. ระยะเวลา 1 สัปดาห์
(วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม – วันพุธที่ 9 มกราคม 2551)

4. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม

4.1 ระยะที่ 1 เริ่มโครงงาน
ทบทวนความรู้และความสนใจของเด็ก
คุณครู : เด็กๆ รู้ไหมถั่วงอกเกิดมากถั่วอะไร
ด.ญ.นวรัตน์ : ถั่วดำคะ
ด.ช.วรวุฒิ : ถั่วแดงครับ
ด.ญ.ภัทราพร : ถั่วเขียวคะ
คุณครู : ครูสรุปคำตอบที่ถูกต้องให้เด็กๆ เข้าใจว่าถั่วงอก
เกิดมากถั่วเขียว
คุณครู : เด็กๆ เคยเห็นถั่วเขียวไหมคะ
ด.ญ.ชนิกานต์ : เคยเห็นค่ะ แม่หนูเคยต้มถั่วเขียวหวานๆ ให้หนูกิน
คุณครู : ถั่วงอกมีลักษณะอย่างไร
ด.ญ. อัญชิญา : ลำต้นยาวคะ
ด.ญ.ศิรพัชร : มีสีขาว หัวมันจะเป็นสีเขียวคะ
ด.ญ.วาสนา : แม่หนูเคยผัดถั่วงอกใส่ไข่ให้หนูกินด้วยคะ
คุณครู : เด็กๆ เคยเห็นถั่วงอกที่ไหนบ้าง
ด.ญ.ชาลินี : ตอนกินขนมจีนคะ
ด.ญ.พิชญาภัค : เอาไว้ใส่ตอนกินก๋วยเตี๋ยวคะ
ด.ญ.ชนิกานต์ : เห็นเขาขายที่ตลาดคะ

จากการสอบถามพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมของเด็ก พบว่า เด็กๆ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับถั่วงอกเป็นดี สามารถตอบคำถามและเล่าเรื่องราว เกี่ยวกับถั่วงอกได้
และมีความสนใจอยากจะปลูกถั่วงอก

4.2 ระยะที่ 2 พัฒนาโครงงาน (แสวงหาความรู้ใหม่)
1. ฝึกให้เด็กรู้จักกระบวนการคิด วางแผน ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน
รู้จักการแก้ปัญหาร่วมกัน และสรุปผลการทดลอง
2. ส่งเสริมให้เด็กรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และมีส่วนร่วมในการเรียน
3. ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออกด้วยการพูด การแสดงความคิดเห็น
ถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์เดิม
4. สนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง เห็นความ
สำเร็จของผลงาน และภูมิใจในผลงานของตนเอง
การดำเนินงาน
1. ให้นักเรียนนำกระดาษทิชชู่ ถ้วยพลาสติก หรือจานแบนมากจากบ้าน
2. ครูนำถั่วเขียวที่เตรียมไว้ใส่กะละมังแล้วให้เด็กสัมผัส พร้อมตั้งคำถาม
ให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
- เด็กๆ จับถั่วเขียวแล้วรู้สึกอย่างไร
- ทำไมต้องแช่ถั่วเขียวในน้ำ
3. นำน้ำอุ่นเทใส่กะละมังถั่วเขียวให้ท่วม แช่ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง
4. เมื่อครบ 1 ชั่วโมงแล้วให้เด็กๆ ลองสัมผัสถั่วเขียวที่แช่น้ำ พร้อมตั้ง
คำถามให้เด็กตอบ ให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
- เด็กจับถั่วเขียวแล้วรู้สึกอย่างไร
- ถั่วเขียวที่แช่น้ำมีลักษณะอย่างไร
5. ครูสาธิตการปลูกถั่วเขียว โดยนำกระดาษทิชชู่วางบนจาน หรือถ้วย
2 - 3 ชั้น แล้วพรมน้ำให้กระดาษทิชชู่เปียก แล้วนำถั่วเขียวที่แช่น้ำไว้โรยบนกระดาษทิชชู่ที่เปียกให้กระจายๆกัน จากนั้นน้ำกระดาษทิชชู่ปิดทับ 3 – 4 ชั้นแล้วพรมน้ำกระดาษทิชชู่ ให้ชุ่ม เป็นอันเสร็จ
6. ให้เด็กทุกคนทดลองปลูกด้วยตนเอง ตามวิธีการที่ครูได้สาธิตไปแล้ว
ครูคอยดูแล และให้คำแนะนำ แต่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
7. เมื่อเด็กทุกคนปลูกถั่วเขียวครบแล้ว ให้นำไปวางเรียงบนหลังตู้ จากนั้น
เด็กและครูสร้างข้อตกลงร่วมกัน โดยให้เด็กช่วยกันคิดวิธีการดูแลรักษาถั่วเขียว
- ทำอย่างไรถั่วเขียวจะเจริญเติบโต
- ในห้องเรียนเรามีหนูเราจะป้องกันไม่ให้หนูมากัดกินถั่วเขียวได้อย่างไร
- ในขณะที่ถั่วเขียวกำลังเจริญเติบโตเป็นถั่วงอก เด็กๆ ไม่ควรทำอะไร
8. ครูให้นักเรียนช่วยกันสังเกตการเจริญเติบโต ครูสังเกตความสนใจ และบันทึกคำพูดเด็ก
9. เมื่อเขียวกลายเป็นถั่วงอกที่โตเต็มที่ให้เด็กๆ เก็บถั่วงอกของตนเอง โดยลอกเปลือกสีเขียวออก เด็ดรากออกใส่ถังล้างน้ำให้สะอาด นำไปรับประทานเป็นอาหารได้
4.3 ระยะที่ 3 รวบรวมสรุป
เด็กๆ และครูช่วยกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว
คุณครู : ก่อนนำถั่วเขียวแช่น้ำ
ด.ญ.นวรัตน์ : ถั่วเขียวก่อนแช่น้ำจะแข็ง
ด.ช.วีรวุฒิ : ตอนแช่ถั่วเขียวจะเห็นเศษดินลอยออกมา เป็น
การล้างถั่วเขียวให้สะอาด
ด.ญ.ภัทราพร : ตอนแช่น้ำเปลือกถั่วเขียวบางเม็ดจะลอกออก
คุณครู : ในขณะปลูกเขียวเด็กๆ สังเกตเห็นอะไร
ด.ญ. ชนิกานต์ : ถั่วเขียวเมื่อแช่น้ำจะอ่อน
ด.ญ.พิชญาภัค : กระดาษทิชชู่ให้ที่เปียกจะทำให้ถั่วงอกได้กินน้ำ
ถั่วงอกจะได้โตไวๆ
ด.ญ.วาสนา : ถ้าใส่ถั่วงอกมากเกินไปทำให้ถั่วงอกแย่งอาหารกัน
ด.ญ.ศิรพัชร : หนูเห็นรากของถั่วงอกโผล่ออกมาจากเม็ดถั่วเขียว
คุณครู : เด็กมีวิธีดูแลรักษาถั่วเขียวอย่างไรบ้าง
ด.ญ.นวรัตน์ : เก็บถั่วเขียวไว้ในตู้ป้องกันหนูมากิน
คุณครู : ตอนเย็นให้ทุกคนเก็บถั่วเขียวไว้ในตู้ปิดให้สนิท
ตอนเช้าให้นำถั่วเขียวของตนเองออกมาพรมน้ำให้
ชุ่ม วางเรียงกันบนหลังตู้
คุณครู : พฤติกรรมใดที่เป็นการรบกวนการเจริญ
เติบโตของถั่วงอก
ด.ญ.พัชรีวรรณ : ไม่เอามือไปจับถั่วเขียวเล่น ไม่ฉีกเปลือกถั่วเขียว
ด.ญ.อัญชิญา : ไม่ฉีกกระดาษทิชชู่ออก
เด็กและครูร่วมกันสรุปการทดลองการปลูกถั่วงอก พบว่า ก่อนปลูกถั่วเขียวมีลักษณะแข็ง ควรนำเม็ดถั่วเขียวแช่น้ำอุ่นเพื่อให้เม็ดถั่วเขียวอ่อนเปลือกนิ่ม ช่วยให้รากออกเร็ว การปลูกโดยใช้กระดาษทิชชู่เพราะกระดาษทิชชู่อมน้ำ ถั่วเขียวจะได้รับความ
ชุ่มชื้นช่วยให้การเจริญเติบโตเป็นถั่วงอกเร็วขึ้น ถั่วงอกใช้การเจริญเติบโตประมาณ 7 วัน
ในขณะที่ถั่วงอกกำลังเจริญเติบโต ไม่ควรรบกวนจับเม็ดถั่วเล่นหรือฉีกกระดาษทิชชู่ออก
ควรปล่อยให้เติบโตตามธรรมชาติ
5. ผลสะท้อนกลับ
5.1 ผลปรากฏต่อเด็ก
5.1.1 พัฒนาการทางด้านร่างกาย เด็กได้เคลื่อนไหว ประกอบเพลง
“มากินผัก” เด็กเล่นเกม “หยิบของเล่นใส่ตะกร้า”
5.1.2 พัฒนาการด้านจิตใจ ฝึกให้เด็กได้มีความใจเย็น รู้จักการรอคอยการ
เจริญเติบโตของถั่วงอก เอาใจใส่ต่องานที่ได้รับมอบหมาย และเกิดความภาคภูมิใจใน ผลงานของตนเอง
5.1.3 พัฒนาการด้านสังคม เด็กๆ รู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การปรับตัวอยู่ร่วมกันในสังคม และการช่วยกับเก็บของเข้าที่ได้เรียบร้อย
5.1.4 พัฒนาการด้านสติปัญญา ฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกต สัมผัส ทดลอง
วางการทำงานก่อนลงมือปฏิบัติจริง และการดูแลเอาใจใส่ในงานจนเกิดผลสำเร็จ
5.1.5 เด็กเกิดภาคภูมิในผลงานอย่างมาก สังเกตการเจริญเติบโตถั่วงอกของตนเองทุกวัน และยังคอยสอบถาม สังเกตการเจริญเติบโตถั่วงอกของเพื่อน รู้จักการเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างถั่วงอกของตนเองและของเพื่อน
5.1.6 เด็กๆ อยากชิมถั่วงอกของตนเองเร็ว จากการสอบถามความรู้สึก
ของด.ญ. นวรัตน์ ต่อถั่วงอกของตนเอง ทำให้ทราบว่าอยากจะลองรับประทานถั่วงอกของตนเองที่ปลูก และอยากชิมถั่วงอกของเพื่อน
5.1.7 เมื่อถั่วงอกโตเต็มที่ ครูให้เด็กๆ เด็ดรากถั่วงอก และแกะเปลือกสีเขียวออกใส่ถัง ล้างน้ำให้สะอาดเตรียมนำไปรับประทานเป็นอาหารกลางวันกับขนมจีนน้ำยาปลาทูที่เด็กๆ ชอบ ด.ญ.นวรัตน์สามารถรับประทานถั่วงอกได้มากกว่าทุกครั้ง และบอกว่าต่อไปนี้ถ้ามีถั่วงอกก็จะไม่เขี่ยทิ้งอีกแล้ว เพราะถั่วงอกอร่อย ของเพื่อนก็อร่อย






5.2 ผลปรากฏต่อครู
5.2.1 เด็กๆ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน เด็กทุกคนมีความ เอาใจใส่ต่อการเรียน เห็นได้จากทุกคนเตรียมถ้วย จาน และกระดาษทิชชู่มาปลูกถั่วงอกกันทุกคน
5.2.2 ครูตั้งคำถามจากประสบการณ์เดิมของเด็ก กระตุ้นให้เด็กตอบคำถามจากการสังเกตสิ่งที่ทดลอง
5.2.3 เกิดความภาคภูมิใจ ที่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการไม่ชอบกิน
ถั่วงอกของ ด.ญ. นวรัตน์ ให้กลับมาสนใจและสามารถรับประทานถั่วงอกได้เหมือนกับเพื่อนๆ




















แบบสังเกตการเจริญเติบโตของถั่วงอก

วันที่……………………………………………………
ชื่อ……………………………………………………………ชั้น………………………









ผลการสังเกต
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….