วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กิจกรรมในโรงเรียน

ผลการดำเนินกิจกรรมวันวิชาการ (ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ)
โรงเรียนบ้านคลองตะแบก ประจำปีการศึกษา 2552 วันที่ 24 – 28 สิงหาคม 2552
ฐานอนุบาล

1. กิจกรรม
 กิจกรรมตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์ = (ฝึกทักษะการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน)
 กิจกรรมเรขาคณิตมหัศจรรย์ = (ฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์, จินตนาการ)
 กิจกรรมโรยทรายสี = (ส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนิ้วมือ,
การสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่)
 กิจกรรมมหัศจรรย์แห่งสีสัน = (รู้จักสี, การผสมสีทำให้เกิดสีใหม่, การสังเกต
(เชื่อมโยงสีที่พบเห็นลงสู่ใบกิจกรรม)
 การนำเสนอผลงาน = (จัดแสดงผลงานให้ผู้อื่นรับทราบ)

2. ผู้รับผิดชอบ
 นางพวงเพชร สุวรรณเรือง ฐานอนุบาล 1 (1,000 บาท)
 นางสาวโสรัจจา โยงทะเล ฐานอนุบาล 2 (1,000 บาท)

3. งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน 2,000 บาท (อนุบาล 1 + อนุบาล 2)
รายการจ่ายดังนี้
 กระดาษดับเบิ้ล A (A4) 2 รีมๆละ 130 บาท เป็นเงิน 260 บาท
 กระดาษโปสเตอร์แข็งคละสี 5 แผ่นๆ ละ 8 บาท เป็นเงิน 40 บาท
 ฟิวเจอร์บอร์ด 65X81 1 แผ่นๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 35 บาท
 ฟิวเจอร์บอร์ด 65X122 4 แผ่นๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 200 บาท
 เชือกกระดาษสาใหญ่ 3 ห่อๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 30 บาท
 สีเมจิกตราม้า No.120 (12 สี) 1 ห่อๆ ละ 67 บาท เป็นเงิน 67 บาท
 ทรายสีคละถุง 10 ถุงๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 100 บาท
 ปูนปลาสเตอร์ 6 ถุงๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 90 บาท
 สีโปสเตอร์มาสเตอร์อาท 6 ขวด(แม่สี) /กล่องๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 70 บาท
 สีสะท้อนแสงRado 0.05 ออนซ์/ขวด 8 ขวดๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 200 บาท
 สีผสมอาหาร 4 ถุงๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 40 บาท
 พู่กัน 10 แท่งๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 150 บาท
 แผ่นแม่เหล็กติดกาว 14 แผ่นๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 490 บาท
 เทปผ้าใบ 1 นิ้ว 2 ม้วนๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 60 บาท
 เทปโฟม 2 หน้าหนา 1 ม้วนๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 120 บาท
 ปากกาเคมี 2 หัว ตราม้า 4 แท่งๆ ละ 12 บาท เป็นเงิน 48 บาท
รวมทั้งหมด 2 ,000 บาท คงเหลือ - บาท

4. ระยะเวลาดำเนินการ
5 วัน ระหว่างวันที่ 24 - 28 สิงหาคม 2552
5. รูปแบบการจัดกิจกรรม
- นำเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 1 และอนุบาล 2 รวมกันทั้งหมด 32 คน
- แบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม 6 กลุ่ม ๆ ละ 5 – 6 คน โดยครูมีสัญลักษณ์เป็นรูปภาพ 6 รูป
ดังนี้ 1. รูปดอกไม้ 2. รูปพระอาทิตย์ 3. รูปหมูอ้วน 4. รูปต้นไม้ 5. รูปรถยนต์ 6. รูปผีเสื้อ
- ฝึกการยอมรับ กติกา และส่งเสริมประชาธิปไตยโดยให้เด็กเลือกตัวแทนออกมา
จับสลากเลือกสัญลักษณ์ประจำกลุ่ม โดยยืนเรียงกันทั้ง 6 คน
- ให้เด็กที่เป็นตัวแทน 6 คนที่เป็นคลี่สลากพร้อมกัน แล้วกลับไปบอกเพื่อนที่กลุ่ม
ให้เวลาจำสมาชิกในกลุ่ม และสัญลักษณ์ 1 นาที
(ขั้นนำเข้าสู่กิจกรรม) สอบถามประสบการณ์เดิมของเด็กแต่ละกลุ่มเกี่ยวกับ
สัญลักษณ์ที่ตนได้ ให้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน พยายามส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมภายในกลุ่ม เช่น
- ดอกไม้ คืออะไร / สมาชิกในกลุ่มดอกไม้รู้จักชื่อดอกไม้อะไรบ้าง / สี,กลิ่น
- พระอาทิตย์ คืออะไร มีไว้ทำอะไร ถ้าไม่มีพระอาทิตย์จะเกิดอะไรขึ้น
- หมูอ้วน คืออะไร เอาไว้ทำอะไร / กินอะไร / ร้องอย่างไร / ทำท่าทางของหมู
- ต้นไม้ คืออะไร มีไว้ทำอะไร / ถ้าไม่มีต้นจะเกิดอะไรขึ้น / การดูแลรักษา
- รถยนต์ คืออะไร เอาไว้ทำไม / มีรถอะไรบ้าง / การดูแลรักษา /
- ผีเสื้อ คืออะไร มีประโยชน์หรือไม่ / ทำไมเด็กๆ ไม่กลัวผีเสื้อ
(ขั้นสอน)
วันที่ 1 (24 สิงหาคม 2552) ครั้งที่ 1 เวลา 10.00 น – 11.00 น. แนะนำกิจกรรม
หล่อปูนปลาสเตอร์ วัสดุอุปกรณ์สอบถามความการทำรู้เดิมของเด็กๆ นำปูนปลาสเตอร์ที่หล่อเสร็จแล้วนำมาให้ดู ให้เด็กลองอธิบายว่าปูนปลาสเตอร์ทำได้อย่างไร (บันทึกคำพูด)
- ครูยังไม่สรุปว่าคำตอบของใครถูก
- ครูขออาสาสมัครมาช่วยครูทำ 3 คน จากนั้นให้เด็กๆ แต่ละกลุ่มสังเกตลำดับขั้นตอนการหล่อปูนปลาสเตอร์ ให้เด็กที่เป็นอาสาสมัครถือปูนปลาสเตอร์ไว้จนแห้ง ค่อยๆ แกะปูนปลาสเตอร์ที่หล่อไว้ ให้เด็กๆ แต่ละกลุ่มทบทวนวิธีการทำอีกครั้ง
ครั้งที่ 2 14.20 น. - 15.30 น.
- เด็กและครูร่วมกันทำอีกครั้ง โดยครูดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะผงปูนปลาสเตอร์มีอันตราย ต้องทำด้วยความระมัดระวังและอาศัยเวลา เป็นการฝึกการอดทนและรอคอย ให้เด็กสังเกตการทำแต่ละครั้ง ปัญหาที่พบมีอะไรบ้าง
- สรุปผลการทำปูนปลาสเตอร์ ประเมินผลการร่วมกิจกรรม
หมายเหตุ ระยะเวลาในการทำอาจมีการยืดหยุ่น เพราะต้องอาศัยระยะเวลา และการทำแต่ละครั้งจะมีอุปสรรคของสภาพอากาศฝนตก ชื้น และการกะส่วนผสมให้แน่นอน ไม่เหลว หรือข้นเกินไป อาจทำให้ปูนปลาสเตอร์ไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวไวก่อนที่จะเทลงแบบพิมพ์
(ขั้นสอน)
- วันที่ 2 (25 สิงหาคม 2552) ครั้งที่ 1 เวลา 10.00 น . – 11.20 น. กิจกรรมเรขาคณิตมหัศจรรย์ ฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์, จินตนาการ โดยครูนำฟิวเจอร์บอร์ดมาตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส วงกลม สี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือรูปอื่นแปลกๆ นำแม่เหล็กตัดเป็นชิ้นติดหลังฟิวเจอร์บอร์ด นำชิ้นส่วนทั้งหมดใส่ตะกร้ารวมกัน
- นำกระดานแม่เหล็กมาตั้งไว้ ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาประกอบรูปจากแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดที่ตัดเป็นรูปทรงไว้แล้ว ให้เด็กอธิบายว่าเป็นภาพอะไร ครูสอบถามให้กำลังใจและชมเชยเมื่อเด็กปฏิบัติกิจกรรมได้
- ครูแจกกระดาษวาดเขียนแผ่นใหญ่ให้กลุ่มละ 1 แผ่น กาว และตะกร้าที่ใส่กระดาษสีที่ตัดเป็นรูปทรงต่างๆ มาให้ทุกกลุ่ม ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสร้างสรรค์รูปภาพตามจินตนาการ ให้สอดคล้องกัน เสร็จแล้วให้ทุกกลุ่มนำเสนอผลงาน
- ครั้งที่ 2 เวลา 14.20 น. – 13.00 น. ครูให้เด็กเข้ากลุ่มของตนเอง แจกกระดาษ A4 ให้เด็กคนละแผ่นทำกิจกรรมเหมือนกับช่วงเช้า แต่เปลี่ยนจากกิจกรรมกลุ่มเป็นกิจกรรมรายบุคคล เมื่อเสร็จแล้วนำเสนอผลงานของตนเอง ครูบันทึกคำพูดของเด็ก
(ขั้นสอน)
วันที่ 3 (26 สิงหาคม 2552) กิจกรรมโรยทรายสี ส่งเสริมความแข็งแรงของกล้าม
เนื้อนิ้วมือ และการสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ เวลา 10.00 น – 11.20 น กิจกรรมนี้เด็กชอบมาก เพราะเป็นการเอาทรายสีที่มีสีสันสวยงามมาทำให้ภาพที่เปล่าๆ ดูสวยงามขึ้น นอกเหนือจากการใช้สีเทียน สีไม้ หรือสีน้ำ เด็กมีโอกาสได้ทดลองสิ่งใหม่ เด็กเกิดการสังเกต ได้ซักถาม ในขณะทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง งานด้วยความระมัดระวัง ป้องกันไม่ให้ทรายสีหกเลอะเทอะ
- ครูเตรียมภาพให้เด็ก 4 – 5 ภาพ วางเรียงไว้ ให้เด็กได้มีโอกาสเลือกภาพเองครูคอยดูแลและช่วยเด็กเหลืออย่างใกล้ชิด ให้โอกาสเด็กได้ทำด้วยตนเอง ส่วนการเททรายครูจะพยายามช่วยเพื่อป้องกันทรายหกเลอะเทอะ
- เด็กคนใดที่ยังไม่ได้ทำกิจกรรมนี้ ครูจะให้ไปทำช่วงตื่นนอนก่อนกลับบ้าน
(ขั้นสอน)
วันที่ 4 (27 สิงหาคม 2552) กิจกรรมมหัศจรรย์แห่งสีสัน เน้นให้เด็กรู้จักสี, การผสมสีทำให้เกิดสีใหม่ การสังเกต และการเชื่อมโยงสีที่พบเห็นลงสู่ใบกิจกรรม
- ครั้งที่ 1 เวลา 09.40 น. – 11.20 น. ครูอธิบายและสาธิตการผสมจากแม่สีให้เด็กดู สังเกตและจดจำ สีใหม่ที่เกิดขึ้น
- ให้เด็กเข้ากลุ่มให้ทำใบกิจกรรม การผสมสีจากแม่สี ให้เด็กระบายสีเทียนลงในช่องที่กำหนด
ตัวอย่าง + =

- ครูนำจานสีมีสีผสมอาหารผสมละลายน้ำแล้วอยู่มาให้ที่กลุ่ม จากนั้นแจกผ้าด้ายดิบที่ซักตากไว้พอหมาดๆ ขนาด 5 นิ้ว x 5 นิ้ว ให้เด็กทุกคน ครูสาธิตการพับผ้าแล้วนำผ้าจุ่มลงไปในจานสี โดยจุ่มทีละสีตามใจชอบสังเกตการสีบนผ้า พับผ้าจุ่มสีไปเรื่อยๆ ให้เด็กสังเกตเมื่อครูคลี่ผ้าออกแล้ว เด็กๆ สังเกตเห็นอะไร จากนั้นให้เด็กลงมือทำด้วยตนเองครูดูแลอย่างใกล้ชิด นำผ้าไปตากที่ราว
- ครั้งที่ 2 เวลา 14.20 น. – 15.30 น. ครูแจกใบกิจกรรมให้เด็กโดยมีเงื่อนไขดังนี้
1. ใบกิจกรรมที่ 1 เด็กหยิบผ้าของตนเองมา สังเกตสีบนผ้าว่ามีสีอะไรบ้าง จากนั้นให้นำพู่กันจุ่มสีที่ครูเตรียมไว้ให้ ระบายสีน้ำลงในใบกิจกรรม ให้เด็กนำผ้าของตนเองไปแขวนไว้ที่ราว
ดังเดิม
2. ใบกิจกรรมที่ 2 ให้เด็กไปที่ราวเลือกผ้าของเพื่อนคนใดก็ได้มา 1 ผืน จากนั้นสังเกตสีต่างๆ ในผ้าของเพื่อนว่ามีสีอะไร แล้วนำพู่กันระบายสีนั้นลงใบกิจกรรม นำผ้าไปไว้ที่ราวดังเดิม
3. ใบกิจกรรมที่ 3 ครูเดินไปที่ราวเลือกผ้าให้เด็กคนละ 1 ผืน ไม่ให้ซ้ำกับของตนเอง และของเพื่อนที่หยิบมา สังเกตผ้าที่ครูหยิบให้ว่ามีสีอะไรบ้าง นำพู่กันจุ่มสีระบายลงในใบกิจกรรม
(ขั้นสรุป)
วันที่ 5 (วันที่ 28 สิงหาคม 2552 ) เวลา 09.30 น. – 11.00 น.
- เด็กและครูร่วมกันสรุปกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติ พบปัญหา หรืออุปสรรคใดบ้าง วิธีแก้ไข สอบถามความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ครูเตรียมไว้
- เด็กและครูช่วยกันออกแบบการนำเสนอผลงานที่จะนำไปจัดแสดง รวมถึงการคัดเลือกตัวแทนไปนำเสนองานให้ผู้อื่นรับทราบ

6. สรุปผลการจัดกิจกรรม
- เด็กๆ มีความตั้งใจในการทำงาน
- ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มอย่างดี เด็กที่ไม่สนใจร่วมกิจกรรมครูจะเข้าไปดูแลและกระตุ้นให้มีส่วนร่วมในการกิจกรรมกับเพื่อน
- เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมที่แปลกใหม่ รู้จักการวางแผนช่วยกันทำงาน พี่ดูแลน้อง แบ่งงานกันทำ
- เด็กมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น กล้าพูด กล้าตอบ กล้าถาม สนใจอยากรู้
อยากเห็น
7. ปัญหา / อุปสรรค
- เด็กทุกคนมีความคาดหวังว่าตนเองจะได้ชิ้นงานทุกกิจกรรม
8. ข้อเสนอแนะ
- เด็กทุกคนมีความคาดหวังว่าตนเองจะได้ทำทุกกิจกรรม และเป็นเจ้าของชิ้นงานเหล่านั้น
ซึ่งบางงานต้องอาศัยระยะเวลา และการรอคอย เช่น ตุ๊กตาปูปลาสเตอร์ เด็กอาจจะไม่ได้งานครบทุกคน ซึ่งล้วนมากจากปัจจัย และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ครูต้องอธิบายให้เด็กเข้าใจและยอมรับในเงื่อนไขของชิ้นงานนั้น ซึ่งงานแต่ละงานขึ้นอยู่กับความสามารถ ความตั้งใจ ความอดทน ของแต่ละคน ซึ่งครูต้องเป็นผู้ให้กำลังใจ เพื่อให้มีการพัฒนาตนเองในการทำงานครั้งต่อไป และชมเชยงานทุกชิ้นที่เด็กทำได้

(ลงชื่อ)……………………………. ผู้รายงาน
(นางสาวโสรัจจา โยงทะเล)

โครงงาน"ขนมครกแสนอร่อย"

รายละเอียดโครงงาน

บทคัดย่อ

โครงงานเรื่อง ขนมครกแสนอร่อย จัดทำขึ้นเพื่อให้นักเรียนชั้นอนุบาล 1 และชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านคลองตะแบก ได้ทราบประโยชน์ของข้าวที่นอกจากจะเป็นอาหารไว้สำหรับรับประทานกับกับข้าวแล้ว ข้าวยังสามารถนำมาทำอาหารได้หลายอย่าง หลายประเภท โดยผ่านกระบวนการปรุงด้วยวิธีการที่หลากหลาย กลายเป็นอาหารที่ให้คุณค่าแก่ร่างกายของเรา ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับอนุบาลนั้นควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้จากการลงมือกระทำ จำ เข้าใจได้ด้วยตนเอง โดยเรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวไปหาสิ่งที่ไกลตัว เรียนรู้จากสิ่งที่รู้ และไม่รู้มาก่อน หรือเรียนรู้จากความสนใจที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน

ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เรื่อง ขนมครกแสนอร่อย เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากความสนใจจากสิ่งนักเรียนบางคนรู้ และไม่รู้ นำมาต่อยอดความคิดผ่านการเรียนการสอนที่เป็นลำดับขั้นตอน จากการลงมือปฏิบัติจริง เห็นได้ จับได้ ชิมได้ ซึ่งจากการเก็บสถิติการชิมขนมครกแสนอร่อยของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 และชั้นอนุบาล 2 รวมทั้งหมด 33 คน ปรากฏผลการทำดังนี้

 รสชาติของขนมครก 3 รสชาติ

- รสหวาน 20 คน

- รสจืด 9 คน

- รสขม 4 คน

รวมทั้งหมด 33 คน

 ลักษณะของขนมครกที่ชิม

- นุ่มอร่อย 20 คน

- แข็ง 8 คน

- เละเกินไป 5 คน

รวมทั้งหมด 33 คน

1. ระยะเริ่มต้นโครงงาน (ระยะเวลา 16 – 20 พฤศจิกายน 2552)

ที่มาและความสำคัญของโครงการ

เนื่องจากการเรียนการสอนแต่ละครั้ง นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้แบบโครงการน้อยมาก ซึ่งอาจจะมาจากปัจจัยแวดล้อมที่กระทบการเรียนการสอนอยู่บ่อยครั้ง หรือเกิดจากการขาดความสนใจในเรื่องที่เรียน สื่อการสอนที่ไม่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มเติมหรือแม้แต่สาระการเรียนรู้ที่เตรียมไว้ไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ ฉะนั้นการเรียนรู้ในครั้งนี้นับเป็นโอกาสที่ดีของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 และนักเรียนชั้นอนุบาล 2 เพราะครูประจำชั้นทั้ง 2 ห้อง ได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ตรงกัน คือ เรื่อง ข้าว ไว้ 2 สัปดาห์ สัปดาห์แรกจะเป็นหน่วยย่อย เรื่อง ข้าว ให้นักเรียนรู้จักว่า ข้าว คืออะไร ข้าวมาจากไหน สัปดาห์ที่สอง หน่วยย่อย คือ อาหารที่ทำมาจากข้าว ซึ่งมีมากมายหลายชนิด หลายประเภททั้งคาว หวาน ผ่านการปรุงด้วยกรรมวิธีที่หลากหลาย เช่น ต้ม นึ่ง ผัด หมัก ทอด เป็นต้น ซึ่งการทำอาหารดูเป็นเรื่องที่ วุ่นวายมากในระดับอนุบาล แต่ถ้าได้ลงมือกระทำจริงๆ แล้วจะพบความสนุกสนานมากกว่าความวุ่นวาย ที่เกิดจากความไร้เดียงสา กล้าๆ กลัวๆ ของนักเรียน ซึ่งครูต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ให้กำลังใจ เพื่อให้ผลงานออกมาสำเร็จ นักเรียนเกิดความภูมิใจในผลงานของตนเอง

ครูประจำชั้นทั้ง 2 ห้องจึงเปิดโอกาสให้นักเรียนชั้นอนุบาล 1 และชั้นอนุบาล 2 รวม ทั้งหมด 33 คน ได้เสนออาหารที่มาจากข้าวตามความสนใจ ดังนี้

1.พี่เฟิร์น “หนูอยากทำข้าวต้มคะ มันอร่อยดี ไม่ต้องเคี้ยวเลยคะ”

2.พี่มิ้น “หนูอยากทำขนมครกคะ เพราะว่าที่บ้านหนูมีที่ทำขนม

ครก ย่าหนูเคยพาทำด้วยคะ”

3. น้องเจมส์ “ผมอยากกินข้าวไข่เจียวครับ”

4. น้องป๋อ “ข้าวต้มมัดครับ แม่ผมเคยทำให้กิน”

5. พี่เบียร์ “ผมอยากทำบัวลอยครับ เพราะปั้นเป็นก้อนกลมได้เยอะ

ดีครับ”

6. น้องปิงปอง “หนูชอบกินข้าวผัด เอาผัดๆใส่หมูอร่อยดีคะ”

เมื่อได้รายชื่ออาหารที่นักเรียนเสนอมาแล้ว จากนั้นให้นักเรียนทั้งหมด 33 คน ถือสีไม้คนละ 1 แท่ง เพื่อนำไปใส่กระป๋องให้ตรงกับรายชื่ออาหารที่ตนเองสนใจ ผลปรากฏดังนี้

1. ข้าวต้ม 6 คน

2. ขนมครก 6 คน

3. ข้าวไข่เจียว 8 คน

4. ข้าวต้มมัด 5 คน

5. บัวลอย 3 คน

6. ข้าวผัด 5 คน

จากการลงคะแนนครั้งที่ 1 พบว่าข้าวไข่เจียว ได้คะแนนมากที่สุด 8 คะแนน ซึ่ง

ข้าวเจียวนั้น นักเรียนรู้จัก และรับประทานบ่อยแล้ว ครูจึงพยายามโน้มน้าวให้นักเรียนเลือกอาหารประเภทอื่นอีกครั้ง เพื่อจะได้มีโอกาสได้ลองทำ และชิมอาหารใหม่ๆ จึงนำรายชื่ออาหารที่ได้คะแนนมากที่สุด 3 รายการมาให้นักเรียนเลือกอีกครั้ง โดยครูแนะนำให้นักเรียนลองพิจารณาอาหารที่ นักเรียนไม่เคยรับประทาน หรือว่ารับประทานไม่บ่อย หรืออาหารที่มีรสชาติหวาน อร่อย ข้าวเรารับประทานบ่อยแล้ว เราควรลองอาหารใหม่ๆ ดูบ้าง ผลปรากฏดังนี้

1. ข้าวต้ม 7 คน

2. ขนมครก 21 คน

3. ข้าวไข่เจียว 5 คน

จากการลงคะแนนครั้งที่ 2 พบว่าขนมครก ได้คะแนนมากที่สุด มีนักเรียนเลือก 21 คน

ดังนั้น โครงงานอาหารที่ทำจากข้าวที่นักเรียนและครูร่วมกันทำ คือ ขนมครก

สมมติฐานการ

นักเรียนเกิดความคิดรวบยอดและสร้างแผนผังความคิดการทำขนมครกได้ทุกคน

วัตถุประสงค์

1. นักเรียนสามารถสร้างแผนผังความคิดของขนมครกได้

2. นักเรียนรู้จักส่วนผสมและอุปกรณ์ในการทำขนมครก

3. นักเรียนรู้จักการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน

4. เพื่อฝึกทักษะการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงในขณะทำขนมครก

5. เพื่อส่งเสริมให้เรียนรู้จากการมีส่วนร่วม และลงมือปฏิบัติจริง

2. ระยะพัฒนาโครงงาน

2.1 (แสวงหาความรู้ใหม่)

1. ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง (สอบถามผู้ปกครอง)

2. ส่งเสริมให้ความกล้าแสดงออกด้วยการพูด สอบถาม และแสดงความคิดเห็น

3. เกิดความคิดรวบยอดจากการเรียนรู้ และต่อยอดความรู้ใหม่

4. ฝึกกระบวนการคิดแก้ปัญหา

2.2 การดำเนินงาน

1. นำนักเรียนไปที่โรงอาหารเพื่อลงมือทำขนมครก

2. ครูสอบถามส่วนประกอบขนมครกมีอะไรบ้างจากประสบการณ์เดิมของนักเรียน

3. ครูนำส่วนประกอบของขนมครกมาวางให้นักเรียนดู สอบถามส่วนผสมแต่ละชนิดมีชื่อว่าอย่างไร

4. ครูสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนการผสมแป้งขนมครก จากนั้นให้นักเรียนสังเกตขณะที่ครูผสมส่วนประกอบขนมครก

5. แบ่งนักเรียนออกมาหยอดขนมครก 2-3 คน ลงมือหยอดขนมด้วยตนเอง และช่วยกันใส่หน้าขนมครกตามใจชอบ ครูดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันความร้อนจากเตา

6. เมื่อสุกแล้วจึงช่วยกันแคะขนมครกออกจากเบ้า

7. นักเรียนผลัดเปลี่ยนกันมาหยอดขนมครก และหน้าขนมครกจากที่ครูเตรียมไว้จนครบทุกคน

8. นักเรียนและครูช่วยกันแคะขนมครกแสนอร่อย

3. ระยะที่ 3 รวบรวมสรุป (การจัดนิทรรศการแสดงผลงานให้ผู้อื่นได้ร่วมชม)

เด็กๆ ช่วยกันสรุป

1. นำเสนอผลงานการทำขนมครกจากภาพวาด

2. นักเรียนสร้างแผนผังความคิดของตนเอง หลังจากเรียนรู้แล้ว

3. นักเรียนร่วมกันสรุป และเกิดคำถามใหม่ พร้อมคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้

ถาม ทำไมขนมครกต้องทำในเบ้าหลายเบ้า

ตอบ เพราะว่าเด็กๆ มีหลายคนทำหลายเบ้าได้เยอะดี

ขนมครกทำใส่เบ้าจะได้ขนมครกอันเล็กๆ กินง่าย ไม่เลอะปาก

คนขายอยากให้ขนมครกเป็นวงกลมเลยหยอดใส่ในเบ้า

เวลาเขาทำขายจะได้ขนมครกเยอะๆ ได้เงินเยอะๆ

ถาม ทำไมน้ำกะทิมี 2 ถุง (กะทิใสคือหางกะทิ, กะทิสีเข้มๆ คือหัวกะทิ)

ตอบ หางกะทินำมาผสมกับแป้งขนมครก หัวกะทิสีเข้มเหมือนนมนำมาทำ

หน้าขนมครกให้หวานอร่อย

ถาม ทำไมคุณครูใส่แครอทหน้าขนมครก

ตอบ คุณครูมีต้นหอมน้อย จึงใช้แครอททำหน้าขนมครกแทน

นักเรียนไม่เคยกินขนมครกหน้าแครอท เมื่อคุณครูพาทำก็อร่อย ชอบกิน

แปลกดี ,หน้าขนมครกบางอันใส่ข้าวโพดด้วย

ถาม ทำไมขนมครกบางชิ้นอ่อน, เละ, บางชิ้นแข็ง, บางชิ้นก็ขม, บางชิ้นก็ใหญ่

ตอบ ขนมครกที่อ่อน เละ เพราะว่าคุณครูใส่น้ำผสมแป้งมากเกินไป

ขนมครกชิ้นที่แข็ง เพราว่าคุณครูใส่น้ำน้อยเกินไป

ถาม คุณครูใส่น้ำมันลงในเบ้าขนมครกเพื่ออะไร

ตอบ ไม่ให้ขนมครกติดกระทะ, ทำให้แคะได้ง่าย, ทำให้ขนมกรอบ

ถาม ทำไมคุณครูแคะขนมครกไม่ออก , มันไม่เป็นชิ้นกลมๆ , ทำไมมันขาด

ตอบ เพราะขนมครกไหม้เพราะไฟแรง, เพราะกระทะเหนียว, นักเรียนแคะไม่

ออกมาเหนียวขนมครกเลยขาด

ถาม ขนมครกบางชิ้นทำไมมีรสหวาน , ทำไมมีรสจืด , บางชิ้นก็ขม

ตอบ ที่หวานเพราะคุณครูใส่น้ำตาล , ชิ้นที่มีรสจืดคุณครูไม่ใส่น้ำตาล

คุณครูใส่น้ำลงไปมากทำให้ความหวานจางลง , ชิ้นที่ขมเพราะว่ามันไหม้

ถาม ทำไมขนมครกมีขนาดวงกลมใหญ่ และวงกลมเล็ก

ตอบ เพราะคุณครูมีถาดเบ้าขนมครก 2 อัน ถาดแรกเป็นเหล็กมีหลายเบ้ามีขนาด

เล็ก ถาดที่สองทำมาจากดินเผา เป็นเบ้าขนาดใหญ่ มีเบ้าแตก 1 เบ้าถาม ทำไมคุณครูแคะขนมออกจากเบ้าง่ายขึ้น

ตอบ เพราะคุณครูแคะเก่งแล้ว, เพราะเด็กๆ แคะเองได้แล้ว , เพราะเราทำ

ขนมครกกันมากแล้วกระทะมันลื่นทำให้แคะง่ายขึ้น,

วันนี้เราทำขนมครกหน้าแครอทหน้าตาแปลกดีแต่ก็อร่อย,

ขนมครกอร่อยจัง, อยากให้คุณครูพาทำอีก

4. ผลปรากฏต่อเด็ก

1. พัฒนาการด้านจิตใจ เด็กๆ รู้จักการปรับตัวเข้าหาเพื่อน และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มให้งานสำเร็จลุล่วง และรู้จักการรอคอย

2. พัฒนาการด้านสังคม เด็กๆ รู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และรู้จักการรอคอยการช่วยกับเก็บของเข้าที่ได้เรียบร้อย

3. พัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กๆ ได้ทดลองทำกิจกรรมด้วยตนเอง ค้นคว้า ทดลองคิดหาเหตุผล แก้ปัญหาด้วยตนเอง จดจำกระบวนการทำงานและลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง

4. แยกแยะรสชาติ และรูปร่างลักษณะของอาหารได้ดังนี้

 รสชาติของขนมครก 3 รสชาติ

- รสหวาน 20 คน

- รสจืด 9 คน

- รสขม 4 คน

รวมทั้งหมด 33 คน

 ลักษณะของขนมครกที่ชิม

- นุ่มอร่อย 20 คน

- แข็ง 8 คน

- เละเกินไป 5 คน

รวมทั้งหมด 33 คน

5. นำเสนอผลงานการทำขนมครกเป็นรูปภาพ และเล่าเรื่องราวจากภาพได้

6. สามารถสร้างแผนผังความคิดหลังจากการทำขนมได้ดีขึ้น

5.ผลปรากฏต่อครู

1. ครูศึกษาข้อมูลการทำขนมครกที่ถูกต้อง และความพร้อมที่จะให้ความรู้เด็ก ตอบ

คำถามในสิ่งที่เด็กอยากรู้

2. นักเรียนเกิดการเรียนรู้หลังเรียนดีขึ้นกว่าก่อนเรียน

3 ผู้ปกครองสนใจ ให้ความร่วมมือและสนับสนุน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการ

สอนเป็นอย่างดี

4. ครูเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอนแบบโครงงาน ทำให้เกิดกำลังใจในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานต่อไป

โครงงาน"ขนมครกแสนอร่อย"

รายละเอียดโครงงาน
บทคัดย่อ

โครงงานเรื่อง ขนมครกแสนอร่อย จัดทำขึ้นเพื่อให้นักเรียนชั้นอนุบาล 1 และชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านคลองตะแบก ได้ทราบประโยชน์ของข้าวที่นอกจากจะเป็นอาหารไว้สำหรับรับประทานกับกับข้าวแล้ว ข้าวยังสามารถนำมาทำอาหารได้หลายอย่าง หลายประเภท โดยผ่านกระบวนการปรุงด้วยวิธีการที่หลากหลาย กลายเป็นอาหารที่ให้คุณค่าแก่ร่างกายของเรา ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับอนุบาลนั้นควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้จากการลงมือกระทำ จำ เข้าใจได้ด้วยตนเอง โดยเรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวไปหาสิ่งที่ไกลตัว เรียนรู้จากสิ่งที่รู้ และไม่รู้มาก่อน หรือเรียนรู้จากความสนใจที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน

ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เรื่อง ขนมครกแสนอร่อย เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากความสนใจจากสิ่งนักเรียนบางคนรู้ และไม่รู้ นำมาต่อยอดความคิดผ่านการเรียนการสอนที่เป็นลำดับขั้นตอน จากการลงมือปฏิบัติจริง เห็นได้ จับได้ ชิมได้ ซึ่งจากการเก็บสถิติการชิมขนมครกแสนอร่อยของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 และชั้นอนุบาล 2 รวมทั้งหมด 33 คน ปรากฏผลการทำดังนี้

 รสชาติของขนมครก 3 รสชาติ

- รสหวาน 20 คน

- รสจืด 9 คน

- รสขม 4 คน

รวมทั้งหมด 33 คน

 ลักษณะของขนมครกที่ชิม

- นุ่มอร่อย 20 คน

- แข็ง 8 คน

- เละเกินไป 5 คน

รวมทั้งหมด 33 คน

1. ระยะเริ่มต้นโครงงาน (ระยะเวลา 16 – 20 พฤศจิกายน 2552)

ที่มาและความสำคัญของโครงการ

เนื่องจากการเรียนการสอนแต่ละครั้ง นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้แบบโครงการน้อยมาก ซึ่งอาจจะมาจากปัจจัยแวดล้อมที่กระทบการเรียนการสอนอยู่บ่อยครั้ง หรือเกิดจากการขาดความสนใจในเรื่องที่เรียน สื่อการสอนที่ไม่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มเติมหรือแม้แต่สาระการเรียนรู้ที่เตรียมไว้ไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ ฉะนั้นการเรียนรู้ในครั้งนี้นับเป็นโอกาสที่ดีของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 และนักเรียนชั้นอนุบาล 2 เพราะครูประจำชั้นทั้ง 2 ห้อง ได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ตรงกัน คือ เรื่อง ข้าว ไว้ 2 สัปดาห์ สัปดาห์แรกจะเป็นหน่วยย่อย เรื่อง ข้าว ให้นักเรียนรู้จักว่า ข้าว คืออะไร ข้าวมาจากไหน สัปดาห์ที่สอง หน่วยย่อย คือ อาหารที่ทำมาจากข้าว ซึ่งมีมากมายหลายชนิด หลายประเภททั้งคาว หวาน ผ่านการปรุงด้วยกรรมวิธีที่หลากหลาย เช่น ต้ม นึ่ง ผัด หมัก ทอด เป็นต้น ซึ่งการทำอาหารดูเป็นเรื่องที่ วุ่นวายมากในระดับอนุบาล แต่ถ้าได้ลงมือกระทำจริงๆ แล้วจะพบความสนุกสนานมากกว่าความวุ่นวาย ที่เกิดจากความไร้เดียงสา กล้าๆ กลัวๆ ของนักเรียน ซึ่งครูต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ให้กำลังใจ เพื่อให้ผลงานออกมาสำเร็จ นักเรียนเกิดความภูมิใจในผลงานของตนเอง

ครูประจำชั้นทั้ง 2 ห้องจึงเปิดโอกาสให้นักเรียนชั้นอนุบาล 1 และชั้นอนุบาล 2 รวม ทั้งหมด 33 คน ได้เสนออาหารที่มาจากข้าวตามความสนใจ ดังนี้

1.พี่เฟิร์น “หนูอยากทำข้าวต้มคะ มันอร่อยดี ไม่ต้องเคี้ยวเลยคะ”

2.พี่มิ้น “หนูอยากทำขนมครกคะ เพราะว่าที่บ้านหนูมีที่ทำขนม

ครก ย่าหนูเคยพาทำด้วยคะ”

3. น้องเจมส์ “ผมอยากกินข้าวไข่เจียวครับ”

4. น้องป๋อ “ข้าวต้มมัดครับ แม่ผมเคยทำให้กิน”

5. พี่เบียร์ “ผมอยากทำบัวลอยครับ เพราะปั้นเป็นก้อนกลมได้เยอะ

ดีครับ”

6. น้องปิงปอง “หนูชอบกินข้าวผัด เอาผัดๆใส่หมูอร่อยดีคะ”

เมื่อได้รายชื่ออาหารที่นักเรียนเสนอมาแล้ว จากนั้นให้นักเรียนทั้งหมด 33 คน ถือสีไม้คนละ 1 แท่ง เพื่อนำไปใส่กระป๋องให้ตรงกับรายชื่ออาหารที่ตนเองสนใจ ผลปรากฏดังนี้

1. ข้าวต้ม 6 คน

2. ขนมครก 6 คน

3. ข้าวไข่เจียว 8 คน

4. ข้าวต้มมัด 5 คน

5. บัวลอย 3 คน

6. ข้าวผัด 5 คน

จากการลงคะแนนครั้งที่ 1 พบว่าข้าวไข่เจียว ได้คะแนนมากที่สุด 8 คะแนน ซึ่ง

ข้าวเจียวนั้น นักเรียนรู้จัก และรับประทานบ่อยแล้ว ครูจึงพยายามโน้มน้าวให้นักเรียนเลือกอาหารประเภทอื่นอีกครั้ง เพื่อจะได้มีโอกาสได้ลองทำ และชิมอาหารใหม่ๆ จึงนำรายชื่ออาหารที่ได้คะแนนมากที่สุด 3 รายการมาให้นักเรียนเลือกอีกครั้ง โดยครูแนะนำให้นักเรียนลองพิจารณาอาหารที่ นักเรียนไม่เคยรับประทาน หรือว่ารับประทานไม่บ่อย หรืออาหารที่มีรสชาติหวาน อร่อย ข้าวเรารับประทานบ่อยแล้ว เราควรลองอาหารใหม่ๆ ดูบ้าง ผลปรากฏดังนี้

1. ข้าวต้ม 7 คน

2. ขนมครก 21 คน

3. ข้าวไข่เจียว 5 คน

จากการลงคะแนนครั้งที่ 2 พบว่าขนมครก ได้คะแนนมากที่สุด มีนักเรียนเลือก 21 คน

ดังนั้น โครงงานอาหารที่ทำจากข้าวที่นักเรียนและครูร่วมกันทำ คือ ขนมครก

สมมติฐานการ

นักเรียนเกิดความคิดรวบยอดและสร้างแผนผังความคิดการทำขนมครกได้ทุกคน

วัตถุประสงค์

1. นักเรียนสามารถสร้างแผนผังความคิดของขนมครกได้

2. นักเรียนรู้จักส่วนผสมและอุปกรณ์ในการทำขนมครก

3. นักเรียนรู้จักการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน

4. เพื่อฝึกทักษะการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงในขณะทำขนมครก

5. เพื่อส่งเสริมให้เรียนรู้จากการมีส่วนร่วม และลงมือปฏิบัติจริง

2. ระยะพัฒนาโครงงาน

2.1 (แสวงหาความรู้ใหม่)

1. ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง (สอบถามผู้ปกครอง)

2. ส่งเสริมให้ความกล้าแสดงออกด้วยการพูด สอบถาม และแสดงความคิดเห็น

3. เกิดความคิดรวบยอดจากการเรียนรู้ และต่อยอดความรู้ใหม่

4. ฝึกกระบวนการคิดแก้ปัญหา

2.2 การดำเนินงาน

1. นำนักเรียนไปที่โรงอาหารเพื่อลงมือทำขนมครก

2. ครูสอบถามส่วนประกอบขนมครกมีอะไรบ้างจากประสบการณ์เดิมของนักเรียน

3. ครูนำส่วนประกอบของขนมครกมาวางให้นักเรียนดู สอบถามส่วนผสมแต่ละชนิดมีชื่อว่าอย่างไร

4. ครูสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนการผสมแป้งขนมครก จากนั้นให้นักเรียนสังเกตขณะที่ครูผสมส่วนประกอบขนมครก

5. แบ่งนักเรียนออกมาหยอดขนมครก 2-3 คน ลงมือหยอดขนมด้วยตนเอง และช่วยกันใส่หน้าขนมครกตามใจชอบ ครูดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันความร้อนจากเตา

6. เมื่อสุกแล้วจึงช่วยกันแคะขนมครกออกจากเบ้า

7. นักเรียนผลัดเปลี่ยนกันมาหยอดขนมครก และหน้าขนมครกจากที่ครูเตรียมไว้จนครบทุกคน

8. นักเรียนและครูช่วยกันแคะขนมครกแสนอร่อย

3. ระยะที่ 3 รวบรวมสรุป (การจัดนิทรรศการแสดงผลงานให้ผู้อื่นได้ร่วมชม)

เด็กๆ ช่วยกันสรุป

1. นำเสนอผลงานการทำขนมครกจากภาพวาด

2. นักเรียนสร้างแผนผังความคิดของตนเอง หลังจากเรียนรู้แล้ว

3. นักเรียนร่วมกันสรุป และเกิดคำถามใหม่ พร้อมคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้

ถาม ทำไมขนมครกต้องทำในเบ้าหลายเบ้า

ตอบ เพราะว่าเด็กๆ มีหลายคนทำหลายเบ้าได้เยอะดี

ขนมครกทำใส่เบ้าจะได้ขนมครกอันเล็กๆ กินง่าย ไม่เลอะปาก

คนขายอยากให้ขนมครกเป็นวงกลมเลยหยอดใส่ในเบ้า

เวลาเขาทำขายจะได้ขนมครกเยอะๆ ได้เงินเยอะๆ

ถาม ทำไมน้ำกะทิมี 2 ถุง (กะทิใสคือหางกะทิ, กะทิสีเข้มๆ คือหัวกะทิ)

ตอบ หางกะทินำมาผสมกับแป้งขนมครก หัวกะทิสีเข้มเหมือนนมนำมาทำ

หน้าขนมครกให้หวานอร่อย

ถาม ทำไมคุณครูใส่แครอทหน้าขนมครก

ตอบ คุณครูมีต้นหอมน้อย จึงใช้แครอททำหน้าขนมครกแทน

นักเรียนไม่เคยกินขนมครกหน้าแครอท เมื่อคุณครูพาทำก็อร่อย ชอบกิน

แปลกดี ,หน้าขนมครกบางอันใส่ข้าวโพดด้วย

ถาม ทำไมขนมครกบางชิ้นอ่อน, เละ, บางชิ้นแข็ง, บางชิ้นก็ขม, บางชิ้นก็ใหญ่

ตอบ ขนมครกที่อ่อน เละ เพราะว่าคุณครูใส่น้ำผสมแป้งมากเกินไป

ขนมครกชิ้นที่แข็ง เพราว่าคุณครูใส่น้ำน้อยเกินไป

ถาม คุณครูใส่น้ำมันลงในเบ้าขนมครกเพื่ออะไร

ตอบ ไม่ให้ขนมครกติดกระทะ, ทำให้แคะได้ง่าย, ทำให้ขนมกรอบ

ถาม ทำไมคุณครูแคะขนมครกไม่ออก , มันไม่เป็นชิ้นกลมๆ , ทำไมมันขาด

ตอบ เพราะขนมครกไหม้เพราะไฟแรง, เพราะกระทะเหนียว, นักเรียนแคะไม่

ออกมาเหนียวขนมครกเลยขาด

ถาม ขนมครกบางชิ้นทำไมมีรสหวาน , ทำไมมีรสจืด , บางชิ้นก็ขม

ตอบ ที่หวานเพราะคุณครูใส่น้ำตาล , ชิ้นที่มีรสจืดคุณครูไม่ใส่น้ำตาล

คุณครูใส่น้ำลงไปมากทำให้ความหวานจางลง , ชิ้นที่ขมเพราะว่ามันไหม้

ถาม ทำไมขนมครกมีขนาดวงกลมใหญ่ และวงกลมเล็ก

ตอบ เพราะคุณครูมีถาดเบ้าขนมครก 2 อัน ถาดแรกเป็นเหล็กมีหลายเบ้ามีขนาด

เล็ก ถาดที่สองทำมาจากดินเผา เป็นเบ้าขนาดใหญ่ มีเบ้าแตก 1 เบ้าถาม ทำไมคุณครูแคะขนมออกจากเบ้าง่ายขึ้น

ตอบ เพราะคุณครูแคะเก่งแล้ว, เพราะเด็กๆ แคะเองได้แล้ว , เพราะเราทำ

ขนมครกกันมากแล้วกระทะมันลื่นทำให้แคะง่ายขึ้น,

วันนี้เราทำขนมครกหน้าแครอทหน้าตาแปลกดีแต่ก็อร่อย,

ขนมครกอร่อยจัง, อยากให้คุณครูพาทำอีก

4. ผลปรากฏต่อเด็ก

1. พัฒนาการด้านจิตใจ เด็กๆ รู้จักการปรับตัวเข้าหาเพื่อน และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มให้งานสำเร็จลุล่วง และรู้จักการรอคอย

2. พัฒนาการด้านสังคม เด็กๆ รู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และรู้จักการรอคอยการช่วยกับเก็บของเข้าที่ได้เรียบร้อย

3. พัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กๆ ได้ทดลองทำกิจกรรมด้วยตนเอง ค้นคว้า ทดลองคิดหาเหตุผล แก้ปัญหาด้วยตนเอง จดจำกระบวนการทำงานและลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง

4. แยกแยะรสชาติ และรูปร่างลักษณะของอาหารได้ดังนี้

 รสชาติของขนมครก 3 รสชาติ

- รสหวาน 20 คน

- รสจืด 9 คน

- รสขม 4 คน

รวมทั้งหมด 33 คน

 ลักษณะของขนมครกที่ชิม

- นุ่มอร่อย 20 คน

- แข็ง 8 คน

- เละเกินไป 5 คน

รวมทั้งหมด 33 คน

5. นำเสนอผลงานการทำขนมครกเป็นรูปภาพ และเล่าเรื่องราวจากภาพได้

6. สามารถสร้างแผนผังความคิดหลังจากการทำขนมได้ดีขึ้น

5.ผลปรากฏต่อครู

1. ครูศึกษาข้อมูลการทำขนมครกที่ถูกต้อง และความพร้อมที่จะให้ความรู้เด็ก ตอบ

คำถามในสิ่งที่เด็กอยากรู้

2. นักเรียนเกิดการเรียนรู้หลังเรียนดีขึ้นกว่าก่อนเรียน

3 ผู้ปกครองสนใจ ให้ความร่วมมือและสนับสนุน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการ

สอนเป็นอย่างดี

4. ครูเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอนแบบโครงงาน ทำให้เกิดกำลังใจในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานต่อไป

โครงงาน"ขนมครกแสนอร่อย"